วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ในหลวงกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี

1.เศรษฐกิจแบบพอเพียง
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัย ในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบทและช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ" พอมีพอกิน "และมีความอิสระที่จะอยู๋ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ ์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริม สร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดํารัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทํามาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้ " .... ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้นจะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรงด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทําการเกษตรได้ และค้าขายได้.... " ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทําให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดําริของ " เศรษฐกิจพอเพียง " ซึ่งบได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพายึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงําความคติดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกินขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น " เศรษฐกิจพอเพียง " จึงได้สื่อความหมาย ความสําคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคมตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขายสะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มี่อยู่ภายในชาติและทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทําให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจําเป็นที่ทําได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนําไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออกเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือวิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ " จิตวิญญาณ "คือ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลําดับความสําคัญของ " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า "มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จํากัดซึ่งไร้ขอบเขตถ้าไม่สามรถควบคุมได้การใช้ทรพัยากรอย่างทําลายล้างจะรวดเร็วและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข( Maximizationof Satisfaction ) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกําไร ( Our loss is our gain ) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จํากัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง" คุณค่า " จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทําลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น " ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด " และขจัดความสําคัญของ " เงิน " ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกําหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ ( Demonstration Effects ) จะไม่ทําให้เกิดการสูญเสียจะทําให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน ( Over Consumption ) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน
แม้จะไม่รํ่ารวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทําให้รํ่ารวยมากขึ้นในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าโดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทําให้เกิดความเข้มแข็งและความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สําคัญคือการบริโภคนั้นจะทําให้เกิดความรู้ที่จะอยุ่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทํา เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสําหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า" มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ " บุคคล " กับ " ระบบ " และปรับความต้องการที่ไม่จํากัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกําไร และอาศัยความร่วมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สําคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนําเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดําริในเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคําพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ว่า " ....ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร " ในการผลิตนั้นจะต้องทําด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทําโครงการแต่ไม่ได้คํานึงว่าปัจจัยต่างๆ ไม่ครบปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสําคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสําหรับใช้ในโรงงานนั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนํามาจากระยะไกล หรือนําเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นําเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะตํ่าลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทําให้ราคาตกหรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทําให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาดขายได้ในราคาที่ลดลงทําให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจําวันของครอบตรัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจําวันและเพื่อจําหน่าย
2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่นเพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด “ การจะเป็นเสือนั้นไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกินหมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง”“ เศรษฐกิจพอเพียง” จะสำเร็จได้ด้วย “ ความพอดีของตน”

2.โครงการธนาคารข้าว
ความเป็นมา
เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
1. เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
2. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
3. เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
4. เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจนและขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
5. เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
6. เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ
7. เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
8. เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์

หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
1. จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ
2. ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่
3. พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร
4. ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล
5. ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย
ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผลการปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

3. โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
ความเป็นมา
ทฤษฏีใหม่
ในทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
1. ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
2. หากเก็บน้ำในที่ตกลงมาได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารภเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
3. การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค
4. หากแต่ละครัวเรือนมีสระนำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ๋ แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า

ที่มาแห่งพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่”
แรงดลพระราชหฤทัยในเรื่องนี้เกิดจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน บริเวณพื้นที่บ้านกุตตอแก่น ตำบลกุตสิมคุ้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำรัสแก่บรรดาคณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2535 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรดา พระราชวังดุสิต ว่า
“...ถามชาวบ้านที่อยู่นั่นว่าเป็นอย่างไรบ้างปีนี้ เขาบอกว่าเก็บข้าวได้แล้วข้าวก็อยู่ตรงนั้นกองไว้เราก็ไปดูข้าว ข้าวนั้นมีรวงจริงแต่ไม่มีเมล็ดหรือรวงหนึ่งมีซักสองสามเมล็ด ก็หมายความว่า 1 ไร่ คงได้ข้าวประมาณซักถังเดียวหรือไม่ถึงถังต่อไร่ ่เขาทำไมเป็นอย่างนี้ เขาบอว่าเพราะไม่มีฝนเขาปลูกกล้าไว้แล้วเมื่อขึ้นมาก็ปักดำ ปักดำไม่ได้เพราะว่าไม่มีน้ำ ก็ปักในทรายทำรู ในทรายแล้วก็ปักลงไป เมื่อปักแล้วตอนกลางวันก็เฉามันงอลงไป แต่ตอนกลางคืนก็ตั้งตัวตรงขึ้นมาเพราะมีน้ำค้าง และในที่สุด ก็ได้รวงแต่ไม่มีข้าว ข้าวเท่าไร อันนี้เป็นบทเรียนที่ดี...แสดงให้เห็นว่าข้าวนี้เป็นพืชแข็งแกร่งมากขอให้ได้มีน้ำค้างก็พอ แม้จะเป็น ข้าวธรรมดา ไม่ใช่ข้าวไร่ ถ้าหากว่าเราช่วยเขาเล็กน้อยก็สามารถที่จะได้ข้าวมากขึ้นหน่อยพอที่จะกิน ฉะนั้นโครงการ ที่จะทำมิใช่ต้องทำโครงการใหญ่โตมากจะได้ผล ทำเล็กๆก็ได้ จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าในที่เช่นนั้นฝนตกดีพอสมควร แต่ลงมาไม่ถูกระยะเวลา...ฝนก็ทิ้งช่วง...”
จากพระราชดำรัสข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการที่ทรงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากปัญหาข้อเท็จจริงแล้วทรงวิเคราะห์เป็นแนวคิดทฤษฏีว่า
“...วิธีการแก้ไขก็คือต้องเก็บน้ำฝนที่ตกลงมา ก็เกิดความคิดว่าอยากทดลองดูสัก 10 ไร่ ในที่อย่างนั้น 3 ไร่ จะเป็นบ่อน้ำ คือเก็บน้ำฝนแล้ว ถ้าจะต้องบุด้วยพลาสติกก็บุด้วยพลาสติกทดลองดูแล้ว อีก 6 ทำไร่ทำเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือก็็เป็นบริการหมายถึงทางเดินหรือกระต๊อบหรืออะไรก็ได้แล้วแต่หมายความว่า น้ำ 30 % ที่ทำนา 60 % ก็เชื่อว่าถ้าเก็บน้ำไว้ได้จากเดิมที่ เก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละ ประมาณ 1-2 ถัง ถ้ามีน้ำเล็กน้อยอย่างนั้นก็ควรจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณ 10 -20 ถังหรือมากกว่า ”
ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำรัสให้ทำการทดลอง “ทฤษฎีใหม่” เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้น ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี แนวทฤษฎีใหม่ กำหนดขึ้นดังนี้
ให้แบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ ต่อครอบครัวแบ่งออกเป็นสัดส่วน คือ

ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถน้น้ำนี้ไปใช้ได้ตลอดปี ทั้งยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีทางหนึ่งด้วยดังพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่วัดชัยมงคลพัฒนาอังเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 ความตอนหนึ่งว่า“...การเลี้ยงปลาเป็นรายได้เสริม ถ้าเลี้ยงปลาไม่กี่เดือนก็มีรายได้...”

ส่วนที่สอง : ร้อยะ 60 เป็นเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 10ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่างๆโดยบี่งพื้นที่นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ทำนาข้าวประมาณ 5 ไร่ ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพของพื้รที่และภาวะตลาดประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าในพื้นที่ทำการเกษตรนี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้งประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ถ้าหากแบ่งแต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง
ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่เหลือมีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลออดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ รวมพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 15 ไร่ ตามสัดส่วน 30 – 30 – 30 – 30 – 10 ตามทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ
1. วิธีนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรผู้เกป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีพื้นที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็กๆ ประมาณ 15 ไร่(ซึ่งเป็นอัตราถือครองเนื้อที่การเกษตรโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย)
2. มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ (self sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อนโดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีกันในท้องถิ่น
3. กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้เพียงพอตลอดทั้งปี โดยยึดหลักว่าการทำนา 5 ไร่ ของครอบครัวหนึ่งนั้นจะมีข้าวพอกินตลอดปีซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้

ทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริได้นั้น ทรงคำนึงถึงการระเหยของน้ำในสระหรืออ่างเก็บน้ำลึก 4 เมตร ของเกษตรการด้วยว่าในแต่ละวันที่ไม่มีฝนตกคาดว่าน้ำระเหยวันละ 1 เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อเฉลี่ยว่าฝนไม่ตกปีละ300 วันนั้นระดับน้ำในสระลดลง 3 เมตร จึงควรมีการเติมน้ำให้เพียงพอเนื่องจากน้ำเหลือก้นสระเพียง 1 เมตรเท่านั้น

ดังนั้น การมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อคอยเติมน้ำในสระเล็ก จึงเปรียบเสมือนมีแท้งค์น้ำใหญ่ๆ ที่มีน้ำสำรองที่จะคอยเติมน้ำอ่างเล็กให้เต็มอยู่เสมอ จะทำให้แนวทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้นสระน้ำที่ราษฎรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่นี้เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้ง ราษฎรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้และหากน้ำในสระไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะช่วยให้มีน้ำใช้ตลอดปี ในกรณีราษฎรใช้น้ำกันมากอ่างห้วยหินขาวก็อาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักสมบูรณ์แล้วก็ใช้วิธีการสูบน้ำจากป่าสักมาพักในหนองน้ำใดหนองน้ำหนึ่ง แล้วสูบต่อลงมาในอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มาพอตลอดปี ทรงเชื่อมั่นในทฤษฎีนี้มาก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“...ให้ค่อยๆทำเพิ่มเติม ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น แล้วทีหลังในเขตนอกเหนือจาก 3,000 ไร่ เมื่อมาเห็นว่าทำได้ก็เชื่อแล้วนำไปทำบ้างแต่ต้องไม่ทำเร็วนัก บริเวณนี้ก็จะสนับสนุนได้ 3,000 ไร่ ช่วงเขาบอกได้ 700 ไร่ แต่ทฤษฎีของเราได้ 3,000 ไร่...”

4. โครงการปลูกต้นมะกอกโอลีฟ( Olea europaea L. )
ความเป็นมา
ลักษณะทางภูมิศาสตร์
มะกอกโอลีฟมีถิ่นฐานเดิมซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ประเทศบอลข่าน, ทะเลเดรียติค จนถึงแถบที่ราบสูงในอิหร่าน ปาเรสไตน์ จนถึงแถบชายฝั่งของซีเรีย ต่อมาได้กระจายมาถึง Chipre * ต่อไปทาง Anatolio * ผ่าน Crete* ไปถึงอียิปต์ จนกระทั่งกระจายไปบริเวณลุ่มน้ำที่ติดกับชาบฝั่งของทะเลเมอดิเตอร์เรเนียนและจากการค้นพบทวีปอเมริกา การปลูกมะกอกโอลีฟจึงได้แพร่ออกไปสู่โลกใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปลูกในแถบอเมริกใต้,จีน,ญี่ปุ่น และออสเตรเลียอีกด้วย
มะกอกโอลีฟเป็นพืชอาหารที่สำคัญและมีคุณค่าชนิดหนึ่งในเขตเมดิเตอร์เรเนียนมาตั้งแต่อดีต ส่วนต่างๆของต้นมะกอกโอลีฟสามารถนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น ส่วนผลซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด ใช้ประกอบอาหารและ ผลิตภัณฑ์น้ำมันซึ่งน้ำมันมะกอกโอลีฟถือว่าเป็นน้ำมันที่ทางการแพทย์แนะนำให้บริโภคเพื่อสุขภาพที่ดีเนื่องจากมีไขมันที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงกว่าน้ำมันที่ผลิตจากพืชอื่นๆอีกทั้งยังสามารถนำน้ำมันมะกอกโอลีฟมาใช้เป็นส่วนผสมใน การผลิตสบู่และน้ำมันนวดด้วยส่วนใบมะกอกโอลีฟใช้ในการปรุงอาหารและใช้บำบัดรักษาทางการแพทย์ ในขณะที่ส่วนเนื้อไม้ของกิ่งก้านและลำต้น ใช้นำมาทำผลิตภัณฑ์แกะผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์
พื้นที่ที่นิยมปลูกมะกอกโอลีฟโดยมากจะอยู่ในช่วงระหว่างเส้นรุ้งที่ 30 องศา ถึง 45 องศา เป็นได้ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ซึ่งจะเป็นพื้นที่ที่สภาพภูมิอากาศเป็นแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีลักษณะเด่นคือฤดูร้อนที่ร้อนและแห้ง
จากข้อมูลของกลุ่มผู้ที่ปลูกมะกอกโอลีฟในเชิงธุรกิจประมาณได้ว่า ปัจจุบัน มีมะกอกโอลีฟอยู่ราวๆ 820 ล้านต้น ซึ่งในจำนวนนี้ 808 ล้านต้น หรือประมาณ 99% ของทั้งหมด ปลูกอยู่ในกลุ่มลุ่มแม่น้ำบริเวณทะเลเมอดิเตอร์เรเนียน คิดเป็นพื้นที่ 8.2 ล้าน hectares

ผลผลิตของมะกอกโอลีฟถ้าคิดในช่วงเวลาครึ่งปีสามารถให้ผลผลิตได้ถึง 10 ล้านตัน โดยในจำนวนนี้ 90 % จะนำไป สกัดน้ำมันและอีก 10 % จะนำไปทำมะกอกดอง มะกอกโอลีฟสามารถแบ่งประเภทตามการใช้ประโยชน์ดังนี้
1. เพื่อการผลิตน้ำมัน ได้แก่พันธ์ Picual ,Piccudo ,Arbequina ,Cornicabra เป็นต้น
2. เพื่อรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Manzanilla ,Gordal ,cacerena เป็นต้น
3. เพื่อผลิตน้ำมันและรับประทานผล ได้แก่พันธ์ Hojiblanca ,Pico Limon เป็นต้น
* ชื่อประเทศที่เป็นเกาะอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

5. โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน
ความเป็นมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบน ตำบลกกตูม อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร จึงได้พระราชดำริเกี่ยวกับงานพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาอาชีพของราษฎรบริเวณดังกล่าวแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยสรุปพระราชทานได้ดังนี้
เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทานแก่เจ้าหน้าที่ชลประทาน ณ วัดปทุมวรนารามราชวรวิหาร สรุปความว่า
“ควรเปิดโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนเนื้อที่ประมาณ 102,000 ไร่ โดยมีคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการต่างๆ และกำหนดพื้นที่โครงการฯ ออกเป็นเขตให้สอดคล้องกับโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเอื้ออำนวยต่อการพัฒนารูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมคือ เขตพัฒนาอาชีพเสริม เขตพัฒนาการเกษตร และเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่า”

ที่ตั้งและขอบเขตโครงการ

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มุกดาหาร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 184,000 ไร่
พื้นที่อำเภอดงหลวง ครอบคลุมตำบลกกตูม จำนวน 11 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านนาโคกกุง หมู่ที่3 บ้านสานแว้ หมู่ที่ 4 บ้านคำผักกูด หมู่ที่ 6 บ้านแก่งนาง หมู่ที่ 7,11 และ13 บ้านนาหินกอง หมู่ที่ 8 บ้านปากช่อง หมู่ที่ 9 บ้านศรีถาวรพนา และชุมชนฟ้าประทาน หมูที่ 12 และหมูที่ 13 บ้านทรายทอง หมู่ที่ 15 รวม 102,000 ไร่่
พื้นที่อำเภอคำชะอี ครอบคลุมตำบลบ้านค้อ จำนวน 4 หมู้บ้าน คือ บ้านตาเปาะ หมู่ที่ 8 และ บ้านโนนสมบูรณ์ชุมชนคำเบิ่มบ่าม หมูที่ 9, บ้านด่านช้าง หมู่ที่ 10 รวม 82,000ไร่
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดสันเขาภูผาผึ้ง ภูโดธ และภูผาแดง
ทิศใต้ จดสันเขาภูผาลาดและห้วยยาง เขตเส้นแบ่งอำเภอดงหลวงกับอำเภอคำชะอีและอำเภอเขาวง
ทิศตะวันออก จดห้วยบางทรายตามแนวเส้นแบ่งเขตอำเภอดงหลวงกับอำเภอคำชะอี
ทิศตะวันตก จดสันเขาภูโคกยักษ์/ภูดงบาก และภูบักคี ตามแนวเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอดงหลวงกับอำเภอห้วยเขาวง

ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งน้ำในหุบเขา มีเทือกเขาล้อมรอบทางทิศเหนือ ทิศตันตก และทิศใต้ สภาพทั่วไปจึงเป็นป่าและภูเขา มีหมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ราบและริมห้วย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในเขตพื้นที่โครงการฯ หมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง โดยดำเนินการในระบบปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรที่สมบูรณ์แบบและให้การจัดการในรูปของสหกรณ์การเกษตร
2. เพื่อยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น โดยจัดให้มีการพัฒนาอาชีพต่างๆ
3. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภค ให้มีปริมาณเพียงพอ
4. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดการทำลายป่าต้นลำธาร โดยป้องกันรักษาป่าที่อุดมสมบูรณ์ให้คงสภาพเดิม สำหรับป่าที่ถูกทำลายแล้วก็ให้มีการฟื้นฟูกลับสู่สภาพที่สมบูรณ์ดังเดิม

6.โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ปีที่ 50
ความเป็นมา
โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50เกิดขึ้นด้วยพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินาถ เมื่อวันที่ 26 ธัวาคม พ.ศ.2535 ให้หามาตรการหยุดยั้งการทำลายป่าและเร่งฟื้นฟูสภาพต้นน้ำ ลำธาร โดยทรงโปรดให้พิจารณาปัญหาการขาดแคลนน้ำซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของชาติที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนที่สุด รัฐบาลได้อัญเชิญพระราชกระแสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ มาเป็นแนวทางในการดำเนินการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ ซึ่งเป็นเขตป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมสภาพโดยเร่งด่วน ดังนั้นจึงได้ขัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ ปีที่ 50 ขึ้น

โดยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2537 กำหนดให้ดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2539มีเป้าหมายให้ปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ที่เสื่อมโทรม 5 ล้านไร่ รวมทั้งพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์ด้วยการดำเนินโครงการฯ ในระยะนี้ เนื่องจากผู้ร่วมโครงการฯ ยังมีประสบการณ์ปลูกป่าน้อย และช่วงระยะเวลาในการดำเนินงานสั้นเกินไปจึงดำเนินงานไม่ได้ครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้จึงได้มีการขยายระยะเวลาของโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่16 กันยายน 2540 ให้ขยายเวลาออกไปตั้งแต่ปีพ.ศ. 2540 – พ.ศ.2545 เป็นระยะที่ 2 ซึ่งในระยะนี้ เป็นช่วงเวลาที่ประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจอย่างรุนแรงทำให้ผู้ร่วมโครงการฯ จำนวนมากชลอหรือหยุดการดำเนินการปลูกป่า เมื่อสิ้นระยะที่ 2 จึงดำเนินการปลูกป่าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปได้ประมาณ 3.4 ล้านไร่ ยังขาดอยู่อีกประมาณ 1.6 ล้านไร่ จึงจะครบเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5 ล้านไร่ สำหรับพื้นที่นอกเขตป่าอนุรักษ์ดำเนินงานได้ครบถ้วนตามเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว

รัฐบาลได้เห็นถึงความสำคัญของโครงการฯ นี้ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจได้ฟื้นคืนสภาวะปกติคณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ให้ขยายระยะเวลาโครงการฯ ต่อไปเป็นระยะที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2550เป็นเวลา 5 ปี โดยมีป้าหมายดำเนินงานปลูกป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมโทรมตามโครงการฯ นี้ ให้ได้อีก 1.6 ล้านไร่เป็นอย่างน้อย เพื่อให้ครบถ้วนตามเป้าหมาย 5 ล้านไร่ แล้วนำน้อมเกล้าฯ ถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อขยายพื้นที่ที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ โดยการปลูกไมพื้นเมืองในพืนที่ป่าอนุรักษ์ที่เสื่อมโทรม ให้ได้ 5 ล้านไร่
2. เพื่อให้ประชาชนฃาวไทยทุกหมู่เหล่า ได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 และดูแลต้นไม้ที่ปลูกอย่างถาวรด้วยความรัก
3. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนชาวไทยให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้และการอนุรักษ์ให้ทรัพยากรป่าไม้คงอยู่อย่างยั่งยืน
7. โครงการสัตว์เลี้ยงพระราชทาน
ความเป็นมา
บก.ตชด.ภาค 3 ได้รับมอบพันธุ์โคและสุกร จากโครงการเกษตรแม่แตง ( อยู่ในความรับผิดชอบของ มว.พก.ร้อย ตชด. 332 ) และมอบให้ กก.ตชด. 31 – 34 นำไปแจกจ่ายให้ประชาชนในถิ่นทุรกันดารและชาวไทยภูเขาเพื่อไปขยายพันธุ์

โคพระราชทานในส่วนของ บก.ตชด.ภาค 4 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานโคพันธุ์อเมริกันบรามัน 1 ตัว ชื่ออพอลโล่ ให้ กก.ตชด.เขต 9 และนำไปเลี้ยงไว้ที่ กองร้อย 2 อ.นาทวี จ.สงขลา พระราชประสงค์ในการมอบ โคพันธุ์ เพื่อให้ ตชด.นำไปเลี้ยงขยายพันธุ์กับโคพันธุ์พื้นเมืองเพื่อแจกจ่ายให้กับราษฎรที่ยากจนในถิ่นทุรกันดารโดยให้ราษฎรที่มีแม่โคพันธุ์พื้นเมืองนำมาผสมพันธ์กับโคพันธุ์พระราชทานที่กองร้อย 2 ฯ โดยมีเงื่อนไขว่า หลังจากผสมพันธุ์แล้ว ได้ลูกตัวแรกให้ตกเป็นของเจ้าของแม่โค และลูกโคตัวที่ 2เป็นของ ตชด. ข้อตกลงนี้ได้ดำเนินการมาเป็นเวลาหลายปี ต่อมาการผสมพันธุ์ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากพ่อโคอายุมาก และน้ำหนักตัวมากและโคพันธุ์พระราชทานก็ตายเพราะอายุมาก สำหรับลูกโคที่ ตชด.ได้รับไว้ ส่วนมากจะเป็นพันธุ์ผสมอเมริกันบรามัน 65 เปอร์เซ็นต์ และได้แจกจ่ายให้กับ กองร้อย ตชด.และ ร.ร.ตชด.เพื่อทำการขยายพันธุ์ตามพระราชประสงค์


8. โครงการฝึกอบรมศิลปาชีพ บนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์
ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534 เวลา 12.00 น. พล.ต.ต.วัฒนา บุนนาค ผบก.ตชด.ภาค 3 ,พ.ต.อ.กุลเชษฐ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผกก.ตชด.33,พ.ต.ท.ชัชวาล สุคธมาน หนผ.5 กก.ตชด.33 ได้เดินทางเข้าพบท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถณ ตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ .งได้ขอให้นำข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านยากจน ในพื้นที่ จว.แม่ฮ่องสอน และจ.เชียงใหม่ ไปพบ เนื่องจากได้รับพระราชเสาวนีย์์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ให้ตำรวจตระเวนชายแดนซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในเขตหมู่บ้านดังกล่าวมาเข้ารับการอบรมวิชาชีพที่ศูนย์ฝึกศิลปาชีพบนพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จากการเข้าพบในครั้งนี้ได้มี ดร.ไพศาล ล้อมทองและคุณนิพนธ์ เล้าสินวัฒนา เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังซึ่งดูแลเรื่องการฝึกอาชีพนี้ร่วมพิจารณาด้วย

จากการนำเสนอข้อมูลราษฎรในหมู่บ้านยากจนเข้าชี้แจงครั้งนี้ ท่ายผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ได้พิจารณาและขอให้ทางกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 และกงอกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33พิจารณาความเหมาะสมและสมัครใจของราษฎรหมู่บ้านยากจนในเขต จ.แม่ฮ่องสอน และจ.เชียงใหม่ มาเข้าอบรมศิลปาชีพในพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จำนวน 29 คนเป็น ชาย-หญิง ที่สมัครใจโดยมิต้องมีความรู้วิชาชีพเดิมมาก่อนก็ได้ โดยให้ชี้แจงแกราษฎรว่ามีวิชาชีพต่างๆ ให้เลือกฝึก ทางศูนย์ศิลปาชีพจัดที่พักอาศัย อาหาร เสื้อผ้า และเบี้ยเลี้ยง วันละ 50.- บาทให้ด้วย ขอให้นำราษฎรที่สมัครใจเข้ารับการอบรมโดยเร็ว ช่วงระยะเวลาในช่วงแรกที่ทรงแประพระราชฐานอยู่ที่พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์นี้

ดร.ไพศาล ล้อมทอง ได้ขอข้อมูลเบื้องต้น หมู่บ้านที่นำราษฎรมาอบรมแผนผังหมู่บ้าน เส้นทางเข้า-ออก หมู่บ้านโดยสังเขปทั้งหมดด้วย และขอให้จัดเจ้าหน้าที่ ตชด.1 นาย เพื่อช่วยประสานงานในศูนย์ฝึกบนพระตำหนักภูพิงค์ด้วยผกก.ตชด.33 ได้มอบหมายให้ ร.ต.อ.พงค์พิชญ์ วงศ์สวัสดิ์ ปจผ.5กก.ตชด.33เป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อและเจ้าหน้าที่ตำรวจตระเวนชายแดนที่มีความรู้ทางภาษาท้องถิ่น 1 นายเป็นเจ้าหน้าที่ประสานงาน

คุณนิพนธ์ เล้าสินวัฒนา ได้นำคณะ ผบก.ฯไปเยี่ยมชมการฝึกอาชีพต่างๆ ที่ศูนย์ในพระตำหนักซึ่งมีอาชีพสาขาต่างๆ ได้แก่

- ฝึกทอผ้า - ดอกไม้ประดิษฐ์
- ช่างเงิน - ช่างถมทอง
- ช่างปั้นเซรามิก - ตัดเย็บเสื้อผ้า
- วาดภาพ - แกะสลักไม้ ฯลฯ
ที่มา : http://www.bpp.go.th

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม



ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรม


คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้ว นวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากนวัตกรรมเป็นเรื่องของการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยีนั้นมุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับ การทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ

ที่มา : http://pineapple-eyes.snru.ac.th

เทคโนโลยี หมายถึง

ความหมายของเทคโนโลยี
คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"
พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ "วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม"
นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
*** ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
*** สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
*** ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
*** ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติจากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
***** พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)
ที่มา : http://www.kroobannok.com/50

what is Innovation? นวัตกรรมคืออะไร

Keyword: นวัตกรรม Innovation สิ่งประดิษฐ์ Invention ระบบจิตนิยม

เราเริ่มต้นจากตรงนี้ก่อน ก่อนที่ จะไป ใช้ นวัตกรรม เป็นอาวุธ และปรับเป็นกลยุทธ์ เพื่ออยู่รอด ในยุค แห่ง Knowledge economy ซึ่งไม่รู้ยุคหน้าจะเรียกอะไร ก็ช่างก่อน แล้วแต่ฝั่งตะวันตก หรือฝรั่งจะเรียกชื่อ แล้วเราค่อยตามกันไป เอ๊ะ อย่างนี้ก็ไม่ใช้ innovation ซิครับ

ต้องทำใจ เอาไว้ก่อนนะครับ เพราะต้องยอมรับ ในเรื่อง แนวคิดหรือทฤษฎี บางอย่าง เรา ยังถูกกำหนดและครอบงำจากระบบ ทุนนิยมอยู่ ทำให้ การดำเนินชีวิตของเรา ยังไงก็ ต้อง ปรับให้เข้ากับ อิทธิพล ของฝั่งตะวันตก

แต่อีกไม่นานหรอกครับ แรงเหวี่ยงของโลก จะมาทางตะวันออก แน่นอน เพราะอนาคต จะถูกนำด้วย ระบบจิตนิยม ไม่ใช่ทุนนิยม (อันนี้ผมตั้งชื่อเองนะครับ) แต่มีที่มาที่ไปแน่นอน ค่อยๆ ตามกันมานะครับ

เข้าเรื่องดีกว่า What is Innovation? นวัตกรรมคืออะไร
สมัยก่อน การคิดค้นสินค้าและบริการใหม่ หรือ ฝรั่งเรียกว่า Product development อาจนับว่าเป็น นวัตกรรม แต่ถ้าดูตามทฤษฎี (อย่าว่ากันนะ เรียน ปริญญาเอก ก็ต้องเอาทฤษฎีอ้าง ไม่ต่ำกว่าห้า ต่อ หนึ่ง คีย์เวิร์ด ที่ต้องการขยาย ไม่งั้นเดี๋ยวอาจารย์ ว่า นั่งเทียน คิดเอง มั่วเอง) และ แนวทางการศึกษาวิจัย

นวัตกรรม มาก กว่า Product development เพราะ นวัตกรรม ต้อง ตอบคำถาม หรือนิยาม ที่ตั้งขึ้นหลายข้อทีเดียว

เรามาดูตัวอย่างกันก่อนโดยยังไม่ลงส่วนของทฤษฎี จะได้ นึกภาพออก
จากเว็บไซด์ http://inventors.about.com/ ได้ ทำการ สำรวจ ความเห็นจากผู้อ่าน (Here are the most popular inventions researched by our readers)
ได้ผลออกมาอย่างนี้ครับ
1. The Telephone โทรศัพท์
2. The History of Computers คอมพิวเตอร์
3. Television โทรทัศน์
4. The Automobile รถยนตร์
5. The Cotton Gin เครื่องปั่นฝ้าย
6. The Camera กล้องถ่ายรูป
7. The Steam Engine เครื่องจักรไอน้ำ
8. The Sewing Machine เครื่องจักรเย็บผ้า
9. The Light Bulb หลอดไฟ
10. Penicillin ยาเพนนิซิลิน

ที่มา : Top 10 Inventions by Mary Bellis, About.com

ความหมายแรกของนวัตกรรม ที่ เรามองจาก ท๊อปเท็น ด้านบน คือ สิ่งประดิษฐ์ ด้านบน มันเปลี่ยนโลก ได้
แต่สิ่งประดิษฐ์ ทั้งหมด ก็ไม่ได้ เป็นนวัตกรรมทั้งหมด ดังรูป ที่แสดง ข้างล่าง












ภาพ อ้างอิง จาก Smith, David, ‘Exploring innovation’, London: McGraw-Hill, 2006.
ที่มา : http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?passTo=49694465e381695b4903eb8545abd682&pageid=3&bookID=1539&read=true&count=true